วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การแก้ปัญหาความขัดแย้ง

วิธีแก้ปัญหาความขัดแย้ง 
ความขัดแย้งคือความรู้สึกของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ที่มีความคิดเห็นหรือความเข้าใจว่าเป้าหมายหรือผลประโยชน์ของตนเองนั้นถูกขัดขวางสกัดกั้นหรือไม่ลงรอยกัน
( Incompatible  Goal ) กับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลอื่น เมื่อความขัดแย้งเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคล  องค์กร สังคมหรือระดับประเทศในเกือบทุกหนทุกแห่งได้ใช้สันติวิธีเข้าช่วยคลี่คลายความขัดแย้งมากกว่าการใช้ความรุนแรง เพราะการใช้ความรุนแรงก็เหมือนกับเรากำลังล่อเลี้ยงความโกรธ ความเกลียดความทุกข์ร้อนของทุกฝ่าย สะสมเป็นพลังดันที่แรงขึ้นเรื่อยๆจนนำไปสู่การใช้ความรุนแรงโต้ตอบในที่สุด
                และปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นภายในโรงเรียนก็เช่นเดียวกัน เมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นมาไม่ว่าจะ
เป็นความขัดแย้งระหว่างนักเรียนด้วยกันเอง  นักเรียนกับคุณครู  คุณครูกับคุณครูหรือคุณครูกับผู้ปกครอง
ทางโรงเรียนมีวิธีการหรือกระบวนการคลี่คลายความขัดแย้งโดยใช้หลักการประนีประนอม
(  Compromise )โดยเริ่มตั้งแต่
1.วิเคราะห์สาเหตุของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นโดยบุคคลกลาง (ครู, นักเรียน, ผู้ปกครอง) เป็นคนที่ช่วยคลี่คลายความขัดแย้ง
2. บุคคลกลางหรือผู้ที่ช่วยคลี่คลายความขัดแย้ง เป็นผู้พูดคุยกับทั้ง 2 ฝ่ายถึงสาเหตุทีละคน เพื่อจะได้ เรียนรู้ถึงความเหมือนและความแตกต่างของความรู้สึกนึกคิดของแต่ละคน
        3. บุคคลกลางก็จะคิดพิจารณาถึงลักษณะของข้อขัดแย้ง  สาเหตุของความขัดแย้งเกิดจากอะไร
       4. เมื่อทราบสาเหตุที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งแล้ว  ก็จะเรียกบุคคลทั้ง 2 ฝ่ายมาพูดคุยพร้อมกัน โดยบุคคล 
         กลางจะเป็นผู้พูดชี้ให้เห็นถึงสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นและผลที่จะได้รับเมื่อเกิดความขัดแย้ง 
       5. ให้ทั้ง 2 ฝ่ายพูดคุยปรับความเข้าใจกัน ใส่ใจรับฟังกันอย่างมีสติ  อดทน ระมัดระวังเรื่องอารมณ์
        ความรู้สึก หรืออาจจะเป็นการเจรจาต่อรอง และสามารถตกลงกันได้โดยการพบกันครึ่งทาง เพื่อให้ได้
         ข้อยุติของปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นโดยต้องสร้างบรรยากาศให้เกิดความรู้สึกเป็นกันเองและฉันท์มิตร
                  นอกจากการแก้ปัญหาด้วยวิธีการประนีประนอมแล้ว ยังมีวิธีการต่างๆมาจัดการกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นโดยจำแนกตามพฤติกรรมเป็นสำคัญซึ่งได้แก่
1.การหลีกเลี่ยง ( Avoidance ) เป็นการหลบเลี่ยงปัญหา พยายามให้ตนเองหนีไปจากเหตุการณ์ที่เป็นปัญหาขัดแย้ง โดยไม่ยุ่งเกี่ยวกับฝ่ายตรงข้ามที่จะนำข้อโต้แย้งมาหาตน โดยอาจจะเปลี่ยนประเด็นการสนทนา วิธีนี้จะใช้ได้ดีสำหรับประเด็นที่ไม่ค่อยสำคัญนัก
2. การปรองดอง ( Accommodation )   เป็นวิธีการแก้ปัญหาโดยการยอมเสียสละความต้องการของตนเองเพื่อให้ฝ่ายตรงข้ามบรรลุความต้องการของตนเอง ซึ่งทำให้บรรเทาความขัดแย้งได้ในเวลาอันรวดเร็ว เพราะคู่กรณีที่ได้รับประโยชน์เกิดความพึงพอใจและยุติข้อขัดแย้ง แต่อีกฝ่ายที่เสียประโยชน์ก็จะรอวันที่แก้แค้น
3. การแข่งขัน ( Competition ) เป็นการใช้วิธีเอาแพ้เอาชนะ อาจจะต้องใช้อำนาจหรือแสดงความก้าวร้าวรุนแรงเมื่อมีสิ่งกีดขวางมิให้บรรลุเป้าหมาย  จึงใช้วิธีการที่อาจจะต้องทำลายอีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อให้ได้ในสิ่งที่ตนเองหวังไว้  วิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้งวิธีนี้ใช้ได้ผลเมื่อทั้ง 2 ฝ่ายมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันเพียงเวลาสั้นๆ และไม่มีความจำเป็นต้องรักษาสัมพันธภาพในระยะยาว 
           การแก้ปัญหาความขัดแย้งด้วยวิธีการพบหน้ากัน เจรจาและทำความตกลงร่วมกันจะมีประสิทธิภาพมากแค่ไหน แต่วิธีนี้จะใช้ได้ผลเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับความสามารถและความชำนาญของผู้เกี่ยวข้องที่จะต้องสร้างทักษะที่จำเป็นในการแก้ไขความขัดแย้ง ดังนี้ ความสามารถในการพิจารณาลักษณะของข้อขัดแย้ง,การจำแนกประเด็นของข้อขัดแย้ง,การเริ่มต้นเจรจาแก้ไขข้อขัดแย้ง,การรับฟัง,การให้เหตุผลและใช้เหตุผล,การรู้จักปฏิกิริยาทางอารมณ์ของผู้อื่นและรู้จักควบคุมอารมณ์ของตนเอง
ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นไม่ได้มีผลเสียแต่อย่างเดียว  หากพิจารณาให้ถี่ถ้วนแล้วจะพบว่าความขัดแย้งก็มีด้านผลดีที่เป็นประโยชน์หลายด้าน เช่น
1.ทำให้องค์กรไม่หยุดนิ่ง
2.ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มจะทำให้สมาชิกในกลุ่มมีความสามัคคี เกิดความกลมเกลียวกัน
3. ทำให้เกิดความคิดแปลกใหม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น