วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การพึ่งพาอาศัยกัน

การพึ่งพาอาศัยกัน (Interdependence) ได้แก่ ความเข้าใจตระหนักรู้ถึงความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างกันของผู้คน ถิ่นฐาน เศรษฐกิจ ธรรมชาติสิ่งแวดล้อมที่ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เข้าใจสภาวการณ์ในระดับโลก สามารถเรียนรู้ที่จะจัดการกับความซับซ้อนได้

การพึ่งพากัน 

            การ พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันของประเทศต่างๆในด้านการรวมตัวเป็นองค์กรความร่วม มือทางเศรษฐกิจก็ เนื่องมาจากความมั่นคงและสวัสดิการของประเทศ ซึ่งการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันได้เพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็วในภาวะเศรษฐกิจที่มีการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และเน้นภาคธุรกิจหรือ ผลผลิตทางภาคอุตสาหกรรม ยิ่งกว่านั้น เมื่อกระบวนการผลิตใช้เทคโนโลยีสูงขึ้น ย่อมทำให้ สินค้าและบริการออกสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งระบบการค้า มักจะถือกันว่าเป็นรูปแบบ ของกระบวนการ พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจ อัตราส่วนของการค้าต่อผลิตภัณฑ์ มวลรวมประชาชาติ ขยายตัวมากขึ้นย่อมหมายถึงประเทศนั้น มีการพึ่งพิงระบบการค้า ระหว่างประเทศมากขึ้นด้วย ทำให้การเจริญเติบโตของประเทศต้องอาศัยการพึ่งพากันทางการค้า และการลงทุน ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ 

             ตลอด จนมีการแลกเปลี่ยน เทคโนโลยีและทรัพยากรทางเศรษฐกิจ เพื่อให้ประเทศสมาชิกในองค์กรได้รับผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน ซึ่งสามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆได้ เช่น ความร่วมมือกันในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ ซึ่งประเทศไทยได้เข้าร่วมกลุ่มดังกล่าว และได้รับประโยชน์จากการรวมกลุ่มในด้าน การพึ่งพาอาศัยกัน เช่น แต่ละประเทศจะผลิตสินค้าหรือใช้ปัจจัยการผลิตที่ประเทศตนเอง สามารถผลิตได้ กล่าวคือ ประเทศไทยผลิตเกลือหินและโซดาแอช อินโดนีเซียและ มาเลเซียผลิตปุ๋ยยูเรีย สิงคโปร์ผลิตเครื่องยนต์ดีเซล และฟิลิปปินส์ผลิตปุ๋ยฟอสเฟต ซึ่งแต่ละประเทศมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ ทำให้ส่งสินค้าออกไปขายยังต่างประเทศได้มากขึ้น ทำให้เศรษฐกิจมีการขยายตัวมากขึ้นด้วย ดังนั้นการพึ่งพาอาศัยกันในรูปของการร่วมมือทางเศรษฐกิจ ของแต่ละประเทศ ก่อให้เกิดผลประโยชน์ร่วมกัน ตลอดจนการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่าง จำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด และองค์กรที่มีความเข้มแข็ง

ความหลากหลาย

ความหลากหลายทางวัฒนธรรม (อังกฤษ: cultural diversity) เป็นความเชื่อที่ค่อนตรงกันให้หมู่นักมานุษยวิทยาว่ามนุษย์มีกำเนิดในทวีปแอฟริกาเมื่อ ประมาณ 2 ล้านมาแล้ว จากนั้นได้เริ่มกระจายตัวไปทั่วโลก ประสบความสำเร็จในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพการณ์ที่แตกต่างหลากหลาย และบ่อยครั้งที่ต้องประสบกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากภัยพิบัติร้ายแรงที่ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศทั้งในระดับพื้นถิ่นและระดับทั่วโลก สังคมที่แยกจากห่างกันที่เกิดขึ้นในที่ต่างๆ ของโลกมีความแตกต่างกันชัดเจน และความแตกต่างกันระหว่างวัฒนธรรมยังคงมีความต่อเนื่องสืบมาถึงปัจจุบัน
แม้ความแตกต่างทางวัฒนธรรมหรือเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมระหว่างหมู่ชนจะยังคงมีอยู่ เช่นความแตกต่างทางภาษา การแต่งกายและประเพณีก็ตาม แต่ในความแตกต่างที่หลากหลายในสังคมต่างๆ ก็ยังปรากฏให้เห็นความคล้ายในตัวของสังคมที่หลากหลาย คือแนวคิดทางศีลธรรมและวิธีที่กลุ่มชนในสังคมมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม โจ เนลสันจากแสตมฟอร์ด เวอร์จิเนียเป็นผู้ทำให้วลี "วัฒนธรรมและความหลากหลาย" เป็นที่รู้จักแพร่หลายในช่วงที่เขาอยู่ในแอฟริกา เป็นที่ถกเถียงกันว่าความแตกต่างเหล่านี้เป็นเพียงสิ่งมนุษย์สร้างที่เกิด ขึ้นตามธรรมดาอยู่แล้วตามรูปแบบของการย้ายถิ่นของมนุษย์ไปในที่ต่างๆ หรือว่านี่คือตัวการที่เป็นหัวใจของของการสืบสายพันธ์ในช่วงวิวัฒนาการที่ทำให้สายพันธุ์ของมนุษย์ประสบความสำเร็จมากกว่าสัตว์พันธุ์อื่นๆ ด้วยการเทียบเทียบแนวกับ "ความหลากหลายทางชีวภาพ" ที่เชื่อกันว่ามีความสำคัญยิ่งยวดต่อการมีชีวิตรอดในระยะยาวของทุกชีวิตบน โลก ความหลากหลายทางวัฒนธรรมย่อมมีความสำคัญยิ่งต่อการอยู่รอดในระยะยาวของมวล มนุษยชาติด้วย นั่นคือ การอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นถิ่นไว้ย่อมมีความสำคัญเท่าๆ กันกับกับการอนุรักษ์ชนิดพันธุ์และระบบนิเวศเพื่อให้สิ่งมีชีวิตบนโลกโดยรวมอยู่ได้

ค่านิยมและการสัมผัสรับรู้

  ค่านิยม (Value) ความหมายทางด้านการบริหาร หมายถึง เป็นความเชื่อทีถาวรเกี่ยวกับสิ่งซึ่งเหมาะสม และไม่ใช่สิ่งซึ่งแนะนำพฤติกรรมของพนักงานให้บรรลุจุดมุ่งหมาย ค่านิยมอาจอยู่ในรูปของการกำหนดความคิดเห็น (Ideology) และเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในแต่ละวัน

ประเภทของค่านิยม
Phenix ใช้หลักความสนใจและความปรารถนาของบุคคลแบ่งค่านิยมออกเป็น 6 ประเภท คือ
1. ค่านิยมทางสังคม (Social Values) เป็นค่านิยมที่ช่วยให้เกิดความรักความเข้าใจและ ความต้องการของอารมณ์ของบุคคล
2. ค่านิยมทางวัตถุ (Material Values) เป็นค่านิยมที่ช่วยให้ชีวิตร่างกายของคนเรา สามารถดำรงอยู่ได้ต่อไป ได้แก่ ปัจจัยสี่ คืออาหาร ที่อยู่อาศัย เสื้อผ้า และยารักษาโรค
3. ค่านิยมทางความจริง (Truth Values) เป็นค่านิยมเกี่ยวกับความจริงซึ่งเป็นค่านิยมที่ สำคัญยิ่งสำหรับผู้ที่ต้องการความรู้ และนักวิทยาศาสตร์ที่ต้องการค้นหากฎของธรรมชาติ
4. ค่านิยมทางจริยธรรม (Moral Values) เป็นค่านิยมที่ทำให้เกิดความรับผิดชอบชั่วดี
5. ค่านิยมทางสุนทรียะ (Aesthetic Values) เป็นความซาบซึ้งใจในความดีและความงาม ของสิ่งต่างๆ
6. ค่านิยมทางศาสนา (Religious Values) เป็นค่านิยมที่เกี่ยวกับความปรารถนาความ
สมบูรณ์ ของชีวิต รวมทั้งความศรัทธา และการบูชาในทางศาสนาด้วย จากประเภทต่างๆ ของค่านิยมข้างต้น ค่านิยมความรัก คู่ครอง และการแต่งงาน ที่ศึกษาใน การวิจัยครั้งนี้เป็นค่านิยมที่น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพทางสังคมวัย รุ่นที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ค่านิยมที่ศึกษาเป็นค่านิยมที่ศึกษาเป็นค่านิยมทางสังคมและทางจริยธรรม

การพัฒนาอย่างยั่งยืน


แนวคิด "การพัฒนาอย่างยั่งยืน" ไม่ใช่เรื่องใหม่ วัฒนธรรมมากมายในประวัติศาสตร์มนุษย์ รวมทั้งวัฒนธรรม ชุมชนในหลายพื้นที่ของประเทศไทย ได้มองเห็นความจำเป็นของการสร้าง ความสมดุลระหว่างสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ แต่สิ่งที่เป็นเรื่อง "ใหม่" ในโลกยุคโลกาภิวัตน์ คือความพยายามที่จะนิยาม สร้างองค์ความรู้อย่างเป็นระบบ และแจกแจงองค์ประกอบต่างๆ ของแนวคิดนี้ในบริบทของสังคมอุตสาหกรรมและข้อมูลข่าวสารระดับโลก
เราอาจสาวรากของแนวคิด "การพัฒนาอย่างยั่งยืน" ไปถึงหนังสือเรื่อง "Silent Spring" (ฤดูใบไม้ผลิที่เงียบงัน) โดย Rachel Carson ตีพิมพ์ครั้งแรก ปี 1962 ตีแผ่ผลกระทบของยาฆ่าแมลง ที่เรียกว่า DDT ต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ด้วยข้อมูลที่หนักแน่นน่าเชื่อถือ ทำให้เรื่องนี้อยู่ในความสนใจของประชาชนอเมริกันอย่างกว้างขวาง และนำไปสู่การประกาศแบน DDT ในปี 1972 นักสิ่งแวดล้อม ส่วนใหญ่ยกย่อง Silent Spring ว่าเป็น "จุดเปลี่ยน" ที่ทำให้คนจำนวนมาก หันมาตระหนักถึงความเกี่ยวโยงอย่างแนบแน่นระหว่างสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม
"การพัฒนาอย่างยั่งยืน" หมายความว่าอะไร และมีลักษณะอย่างไร ? วันนี้ผู้เขียนจะเก็บข้อความจากเนื้อหาในเว็บไซต์ Sustainability Development Gateway (SD Gateway-http://sdgateway.net/) มาเล่าสู่กันฟังดังต่อไปนี้ :
"การพัฒนาอย่างยั่งยืน" สำหรับแต่ละคนย่อมมีความหมายไม่เหมือนกัน เนื่องเพราะ "ระยะยาว" ของแต่ละคน อาจยาวสั้นแตกต่างกัน แต่นิยามที่คนนิยมอ้างอิงมากที่สุดมาจากรายงานชื่อ "อนาคตร่วมของเรา" (Our Common Future หรือที่รู้จักในชื่อ "รายงานบรุนด์ท์แลนด์" -the Brundtland Report) โดยรายงานดังกล่าว ระบุว่า "การพัฒนาอย่างยั่งยืน หมายถึงวิถีการพัฒนาที่สามารถตอบสนองความต้องการของปัจจุบัน โดยไม่ลิดรอนความสามารถของคนรุ่นหลัง ในการตอบสนองความต้องการของพวกเขา"
เป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน ไม่ได้อยู่ที่อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ หากอยู่ที่การปรับปรุงคุณภาพชีวิต ของประชากรโลก ในทางที่ไม่เพิ่มระดับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติจนเกินศักยภาพของธรรมชาติ ที่จะผลิตมันให้มนุษย์ใช้อย่างไร้ขีดจำกัด การพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องอาศัยความเข้าใจว่า การนิ่งเฉยไม่ทำอะไรเลยมีผลกระทบ และเราต้องหาหนทางใหม่ๆ ในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเชิงสถาบันและพฤติกรรมของปัจเจกชน
แนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนรุดหน้า ไปอย่างรวดเร็วตั้งแต่ทศวรรษ 1980 ในปี 1992 ผู้นำนานาชาติที่มาพบกันในการประชุมสุดยอดแห่งโลก (Earth Summit) ในกรุงริโอ เดอ จาเนโรในบราซิล นำเค้าโครงของรายงานบรุนด์ท์แลนด์ไปสร้างสนธิสัญญาและแถลงการณ์เกี่ยวกับประเด็นหลักๆ ด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การตัดไม้ทำลายป่า และความหลากหลายทางชีวภาพ นอกจากนี้ผู้เข้าประชุมยังได้ร่วมกันร่างแผนกลยุทธ์กว้างๆ เรียกว่า "Agenda 21" เพื่อใช้เป็นแผนที่สำหรับงานด้าน สิ่งแวดล้อมและการพัฒนาในอนาคต หลังจากการประชุมสุดยอดครั้งประวัติศาสตร์ดังกล่าว ก็มีกลุ่มต่างๆ ตั้งแต่ธุรกิจ รัฐบาลท้องถิ่น ไปจนถึงองค์กรโลกบาลอย่างธนาคารโลก ที่นำแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนไปตีความ ต่อยอด และปรับใช้ในบริบทของตัวเอง จวบจนปัจจุบัน และยังดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง

การแก้ปัญหาความขัดแย้ง

วิธีแก้ปัญหาความขัดแย้ง 
ความขัดแย้งคือความรู้สึกของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ที่มีความคิดเห็นหรือความเข้าใจว่าเป้าหมายหรือผลประโยชน์ของตนเองนั้นถูกขัดขวางสกัดกั้นหรือไม่ลงรอยกัน
( Incompatible  Goal ) กับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลอื่น เมื่อความขัดแย้งเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคล  องค์กร สังคมหรือระดับประเทศในเกือบทุกหนทุกแห่งได้ใช้สันติวิธีเข้าช่วยคลี่คลายความขัดแย้งมากกว่าการใช้ความรุนแรง เพราะการใช้ความรุนแรงก็เหมือนกับเรากำลังล่อเลี้ยงความโกรธ ความเกลียดความทุกข์ร้อนของทุกฝ่าย สะสมเป็นพลังดันที่แรงขึ้นเรื่อยๆจนนำไปสู่การใช้ความรุนแรงโต้ตอบในที่สุด
                และปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นภายในโรงเรียนก็เช่นเดียวกัน เมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นมาไม่ว่าจะ
เป็นความขัดแย้งระหว่างนักเรียนด้วยกันเอง  นักเรียนกับคุณครู  คุณครูกับคุณครูหรือคุณครูกับผู้ปกครอง
ทางโรงเรียนมีวิธีการหรือกระบวนการคลี่คลายความขัดแย้งโดยใช้หลักการประนีประนอม
(  Compromise )โดยเริ่มตั้งแต่
1.วิเคราะห์สาเหตุของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นโดยบุคคลกลาง (ครู, นักเรียน, ผู้ปกครอง) เป็นคนที่ช่วยคลี่คลายความขัดแย้ง
2. บุคคลกลางหรือผู้ที่ช่วยคลี่คลายความขัดแย้ง เป็นผู้พูดคุยกับทั้ง 2 ฝ่ายถึงสาเหตุทีละคน เพื่อจะได้ เรียนรู้ถึงความเหมือนและความแตกต่างของความรู้สึกนึกคิดของแต่ละคน
        3. บุคคลกลางก็จะคิดพิจารณาถึงลักษณะของข้อขัดแย้ง  สาเหตุของความขัดแย้งเกิดจากอะไร
       4. เมื่อทราบสาเหตุที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งแล้ว  ก็จะเรียกบุคคลทั้ง 2 ฝ่ายมาพูดคุยพร้อมกัน โดยบุคคล 
         กลางจะเป็นผู้พูดชี้ให้เห็นถึงสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นและผลที่จะได้รับเมื่อเกิดความขัดแย้ง 
       5. ให้ทั้ง 2 ฝ่ายพูดคุยปรับความเข้าใจกัน ใส่ใจรับฟังกันอย่างมีสติ  อดทน ระมัดระวังเรื่องอารมณ์
        ความรู้สึก หรืออาจจะเป็นการเจรจาต่อรอง และสามารถตกลงกันได้โดยการพบกันครึ่งทาง เพื่อให้ได้
         ข้อยุติของปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นโดยต้องสร้างบรรยากาศให้เกิดความรู้สึกเป็นกันเองและฉันท์มิตร
                  นอกจากการแก้ปัญหาด้วยวิธีการประนีประนอมแล้ว ยังมีวิธีการต่างๆมาจัดการกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นโดยจำแนกตามพฤติกรรมเป็นสำคัญซึ่งได้แก่
1.การหลีกเลี่ยง ( Avoidance ) เป็นการหลบเลี่ยงปัญหา พยายามให้ตนเองหนีไปจากเหตุการณ์ที่เป็นปัญหาขัดแย้ง โดยไม่ยุ่งเกี่ยวกับฝ่ายตรงข้ามที่จะนำข้อโต้แย้งมาหาตน โดยอาจจะเปลี่ยนประเด็นการสนทนา วิธีนี้จะใช้ได้ดีสำหรับประเด็นที่ไม่ค่อยสำคัญนัก
2. การปรองดอง ( Accommodation )   เป็นวิธีการแก้ปัญหาโดยการยอมเสียสละความต้องการของตนเองเพื่อให้ฝ่ายตรงข้ามบรรลุความต้องการของตนเอง ซึ่งทำให้บรรเทาความขัดแย้งได้ในเวลาอันรวดเร็ว เพราะคู่กรณีที่ได้รับประโยชน์เกิดความพึงพอใจและยุติข้อขัดแย้ง แต่อีกฝ่ายที่เสียประโยชน์ก็จะรอวันที่แก้แค้น
3. การแข่งขัน ( Competition ) เป็นการใช้วิธีเอาแพ้เอาชนะ อาจจะต้องใช้อำนาจหรือแสดงความก้าวร้าวรุนแรงเมื่อมีสิ่งกีดขวางมิให้บรรลุเป้าหมาย  จึงใช้วิธีการที่อาจจะต้องทำลายอีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อให้ได้ในสิ่งที่ตนเองหวังไว้  วิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้งวิธีนี้ใช้ได้ผลเมื่อทั้ง 2 ฝ่ายมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันเพียงเวลาสั้นๆ และไม่มีความจำเป็นต้องรักษาสัมพันธภาพในระยะยาว 
           การแก้ปัญหาความขัดแย้งด้วยวิธีการพบหน้ากัน เจรจาและทำความตกลงร่วมกันจะมีประสิทธิภาพมากแค่ไหน แต่วิธีนี้จะใช้ได้ผลเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับความสามารถและความชำนาญของผู้เกี่ยวข้องที่จะต้องสร้างทักษะที่จำเป็นในการแก้ไขความขัดแย้ง ดังนี้ ความสามารถในการพิจารณาลักษณะของข้อขัดแย้ง,การจำแนกประเด็นของข้อขัดแย้ง,การเริ่มต้นเจรจาแก้ไขข้อขัดแย้ง,การรับฟัง,การให้เหตุผลและใช้เหตุผล,การรู้จักปฏิกิริยาทางอารมณ์ของผู้อื่นและรู้จักควบคุมอารมณ์ของตนเอง
ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นไม่ได้มีผลเสียแต่อย่างเดียว  หากพิจารณาให้ถี่ถ้วนแล้วจะพบว่าความขัดแย้งก็มีด้านผลดีที่เป็นประโยชน์หลายด้าน เช่น
1.ทำให้องค์กรไม่หยุดนิ่ง
2.ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มจะทำให้สมาชิกในกลุ่มมีความสามัคคี เกิดความกลมเกลียวกัน
3. ทำให้เกิดความคิดแปลกใหม่

สิทธิมนุษยชน

สิทธิมนุษยชนมีความสำคัญในฐานะที่เป็นอารยะธรรมโลก (World Civilzation) ของมนุษย์ที่พยายามวางระบบความคิดเพื่อให้คนทั่วโลกเกิดความระลึกรู้ คำนึงถึงคุณค่าของความเป็นมนุษย์ ตั้งแต่ยอมรับความเป็นมนุษย์ ศักดิ์ศรี ชาติกำเนิด สิทธิต่างๆที่มีพื้นฐานมาจากความชอบธรรม ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งสิทธิตั้งแต่กำเนิด โดยให้ความสำคัญกับคำว่าชีวิต (Life) (ชะวัชชัย ภาติณธุ,2548:3) นอกจากนี้แล้วสิทธิมนุษยชนยังมีความสำคัญในแง่ของการเป็นหลักประกันของความ เป็นมนุษย์สิทธิและ เสรีภาพ และสภาวะโลกปัจจุบันเรื่องของสิทธิมนุษยชนก็ไม่ใช่เรื่องประเทศใดประเทศ หนึ่งเท่านั้น หากแต่เป็นเรื่องที่สังคมทั่วโลกต้องให้ความสำคัญ เพราะประเทศไทยในฐานะที่เป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ ผูกพันตามพันธกรณีแห่งกฎบัตรสหประชาชาติ และที่สำคัญเรื่องของสิทธิมนุษยชนยังได้ถูกนำไปใช้ในทางการเมือง เศรษฐกิจระหว่างประเทศ เช่น การละเมิดสิทธิมนุษยชนในพม่าทำให้สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปคว่ำบาตรทางการ ฑูต การงดการทำการค้าด้วย หรือกรณีการส่งกองกำลังทหารของสหประชาชาติเพื่อเข้าไปยุติการฆ่าล้างเผ่า พันธุ์ ในบอสเนีย เฮอร์เซโกวิน่า และในโคโซโว ของอดีตประเทศยูโกสลาเวีย เป็นต้น (กุมพล พลวัน, 2547:2-3) ด้วยสาเหตุและความสำคัญดังกล่าวมาข้างต้น เราจึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญในการศึกษาเรื่องสิทธิมนุษยชน เพราะมีความสำคัญทั้งในด้านสังคมโลกและการสร้างประชาธิปไตยในสังคมไทย

ความเป็นพลเมืองโลก

              -พลโลกมีความเหมือนและความแตกต่างกัน หลายด้าน เช่น สถานที่อยู่อาศัย ภาษา ศาสนา ความเชื่อ วัฒนธรรม ภาษา ชีวิตความเป็นอยู่
    - สันติสุขจะดำรงอยู่ได้ ต้องอาศัยการพัฒนาการอยู่ร่วมกันหลายด้าน เช่น การติดต่อสื่อสาร การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม การค้า และการร่วมกิจกรรมในระดับนาๆ ชาติ อื่นๆ

    - พลโลกจะอยู่ร่วมโลกกันอย่างสันติสุขได้ ต้องเข้าใจ ยอมรับ และเรียนรู้ ความเหมือนและความแตกต่างกัน

    - โลกจะดำรงอยู่ได้ พลโลกต้อง "ร่วมมือกันรักษ์โลก"
        โลกจะดำรงอยู่ได้ พลโลกต้องร่วมมือกันรักษ์โลกสันติสุขจะดำรงอยู่ได้ ต้องอาศัยการพัฒนาการอยู่ร่วมกันหลายด้าน เช่น การติดต่อสื่อสาร การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม การค้า และการร่วมกิจกรรมในระดับนาๆ ชาติอื่นๆ เช่น CCAD พลโลก จะอยู่ร่วมโลกกันอย่างสันติสุขได้ ต้องเข้าใจ ยอมรับ และเรียนรู้ ความเหมือนและความแตกต่างกัน

    -พลโลกมีความเหมือนและความแตกต่างกัน หลายด้าน เช่น สถานที่อยู่อาศัย ภาษา ศาสนา ความเชื่อ วัฒนธรรม ภาษา ชีวิตความเป็นอยู่

วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ความยุติธรรมในสังคม



ความยุติธรรม เป็นสิ่งที่เราแสวงหาและต้องการความยุติธรรม
ความยุติธรรม คืออะไร อันนี้ตอบยาก
ความยุติธรรมกับความเสมอภาค ไม่เหมือนกัน

ความยุติธรรม ต้องให้คนได้รับสิ่งที่เขาควรจะได้รับ ถ้าเขาควรได้รับรางวัลก็ให้รางวัล ถ้าเขาควรได้รับโทษ ก็ให้ได้รับโทษ นี่เรียกว่าความยุติธรรม

ความยุติธรรมจริงๆนั้นคืออะไร ส่วนมากใครที่ได้รับผลประโยชน์ คนนั้นก็ว่ายุติธรรม คนเสียประโยชน์เขาก็ว่าไม่ยุติธรรม ถ้าอย่างนั้น ความยุติธรรมจริงๆคืออะไร บอกไปนิดหนึ่งแล้วว่า ในภาคปฏิบัติ ต้องให้เขาได้รับสิ่งที่ควรได้รับ ถ้าเขาควรได้รับรางวัลก็ให้เขารับรางวัล ถ้าเขาควรได้รับโทษ ต้องให้เขาได้รับโทษ

บางคนบอกว่าความยุติธรรมจริงๆไม่มี หรือมี แต่ไม่รู้อะไร ความยุติธรรมเป็นสากล เป็นจริงในตัวเอง หรือว่าไม่เป็นสากล ไม่เป็นจริงในตัวเอง หรือว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ มันเป็นสิ่งที่แล้วแต่ใครเป็นคนตัดสิน
มนุษย์เราโดยปกติ โดยทั่วไปมีอคติ เข้าข้างตัวเองบ้าง เข้าข้างพวกพ้องของตัวเองบ้าง ทั้งยังเกลียดชังผู้อื่นและพวกอื่น